ตะโพน หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ ตะโพน(กระดูกกลึงนิยม) ลูกนี้หูทองเหลืองเชื่อมใหม่
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
พลศรีทองพระเครื่อง( บู เชียงราย ) | |||||||||||||||
โดย
|
ponsrithong | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
สายเมตตามหานิยม | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
ตะโพน หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ ตะโพน(กระดูกกลึงนิยม) ลูกนี้หูทองเหลืองเชื่อมใหม่ |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
ตะโพน หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ ตะโพน(กระดูกกลึงนิยม) ลูกนี้หูทองเหลืองเชื่อมใหม่ พุทธคุณของ ตะโพน หลวงพ่อภักตร์ นั้นเป็นที่ประจักษ์เรื่องมหาลาภ เมตตามหานิยม เป็นที่รักใคร่ของคนที่ได้พบเห็น ทำให้คนที่ได้พูดได้เจรจาด้วยเป็นต้องหลงไหลครั่งใคร้ และช่วยทางด้านติดต่อเจรจาค้าขาย หรือแม้แต่ในแวดวงบันเทิงดารานักแสดงตะโพนหลวงพ่อภักตร์ก็ยังเป็นที่ต้องการเพราะด้วยประสบการณ์ที่ช่วยในด้านสร้างชื่อเสียงให้กับผู้ที่ได้บูชานั้นมีประสบการณ์มาช้านานตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ตะโพน หลวงพ่อภักตร์ ของท่านนั้นเป็นเครื่องรางที่สร้างได้ยาก และจะหาคนสร้างได้ขลังแบบท่านเป็นไม่มีแล้ว ที่สำคัญไม่มีของอะไรแก้ได้ เหตุเพราะท่านพิถีพิถันตั้งแต่การจัดสร้างและปลุกเสก ดังนั้นการมอบให้ศิษย์แต่ละคนนั้นท่านจะพิจารณาและมอบให้แก่ศิษย์ที่ยังไม่มีครอบครัวและเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูงเท่านั้นและที่น่าแปลกก็คือตะโพนแท้ ๆ ของท่านมักจะไม่มีการเปลี่ยนมือกันอย่างง่าย ๆ เรียกได้ว่า “ใช้กันแบบตกทอด” จากปู่ถึงพ่อจากพ่อถึงลูกกันเลย โดยเฉพาะคนพื้นที่นั้นจะหวงแหนกันมากเป็นพิเศษครับ เพราะของแท้มีน้อยมากแต่ความศรัทธาและความต้องการตะโพนแท้ ๆ ของท่านมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ สำหรับผู้ที่มีวาสนาได้ครอบครองตะโพนของท่านให้ว่าพระคาถาบูชา ตะโพน หลวงพ่อภักตร์ นี้ทุกวันจะประสิทธิเมครับ นะโม (3 จบ) พุทธัง รัตตะนัง ธัมมัง รัตตะนัง สังฆัง รัตตะนัง สมัยหลวงพ่อยังไม่มรณะภาพ มีคณะลิเกไปเล่นที่วัด แล้วไม่มีคนดู หลวงพ่อสงสารเลยได้ลงอักขระไว้ที่กลองตะโพนคณะลิเกคณะ นั้นได้กลายเป็นคณะลิเกโด่งดังถึงทุกวันนี้ ถือว่าเป็นเครื่องรางที่ชาวอ่างทอง เสาะหากันมากแต่หายากเหลือเกินครับ (ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง) ตะโพนนี่เป็นเครื่องดนตรีเอก จะขึ้นก่อนเครื่องดนตรีชนิดอื่น แม้จะเล็กกว่าเขาก็ตาม แต่เสียงและจังหวะดังเร่งเร้ากระตุ้นจิตใจให้คนสนใจให้คนดู จากประสบการณ์ที่เลื่องลือเกี่ยวกับ ตะโพนของหลวงพ่อท่านทำให้คนพื้นที่แถววัด โดยเฉพาะเด็กหนุ่มจะมาคะยั้นคะยอให้ท่านจัดสร้างตะโพนขนาดเล็ก (บางคนเรียก “ลูกกลอง“) ไว้ให้ลูกหลานได้ใช้กัน หลวงพ่อท่านจึงได้จัดสร้างตะโพนจากวัตถุดิบหลายชนิด อาทิ งาช้าง งากำจัด กระดูกสัตว์ เป็นต้น แล้วนำมาเจาะรูตรงกลางเพื่อบรรจุผง จากนั้นจึงนำโลหะมาดัดเป็นขดสำหรับใช้คล้องคอและปิดทับรูที่อุดผงไว้ ท่านจัดสร้างครั้งละประมาณครึ่งบาตร ว่ากันว่าตลอดชีวิตของท่านจึงสร้างเพียงไม่กี่วาระ คนพื้นที่เล่าว่าเมื่อศิษย์หนุ่ม ๆ ทราบว่าหลวงพ่อจะลงตะโพนคืนไหน เพลของวันนั้นศิษย์หนุ่ม ๆ ก็จะนำสำรับอาหารมาถวายท่านอย่างมากมาย เพราะหวังว่าในวันรุ่งจะมารับสำรับอาหารคืนและหากมีวาสนาก็จะได้ตะโพนของหลวงพ่อในสำรับของตน พอย่ำรุ่งชาวบ้านก็จะได้ยินเสียงตะโพนดังกังวานไปแต่ไกล (เสียงนั้นจะไม่เหมือนเสียงกลอง) นั่นเป็นสัญญาณว่า “มารับได้แล้ว” บรรดาศิษย์ก็จะรีบมารับสำรับของตนเองคืน และเมื่อแต่ละคนได้รับสำรับกลับไปแล้วก็จะรีบนำไปล้างและหาดูว่ามีตะโพนในชุดสำรับหรือไม่ ถ้ามีก็ถือว่าเป็นวาสนา แล้วรีบนำไปอาราธานาติดตัวกันเลย พุทธคุณของ ตะโพน หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ นั้นเป็นที่ประจักษ์เรื่องมหาลาภ เมตตาและมหานิยมอย่างเอกอุ เลื่องลือมาแต่โบราณแต่ด้านอื่น ๆ ก็ครบเครื่องชายชาตรี ประวัติ หลวงพ่อพัก (หลวงพ่อภักตร์) จันทสุวัณโณ วัดโบสถ์ จังหวัดอ่างทอง หลวงพ่อพัก (หลวงพ่อภักตร์) จันทสุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ประวัติหลวงพ่อภักตร์ ท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ.2425 ที่บ้านท่าขาม ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี) โยมบิดาชื่อ ถมยา โยมมารดาชื่อ พุก ในตอนเด็กๆ บิดาของท่านได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงปู่เถื่อนวัดหลวง ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จนอ่านออกเขียนได้ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อพักอายุครบ 20 ปี ในปีพ.ศ.2445 ท่านจึงอุปสมบทที่วัดอ้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ โดยมีหลวงปู่เถื่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านอุปสมบทแล้วท่านได้ติดตามท่านเจ้าคุณรัตนมุณี ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่านมาอยู่ที่วัดหงส์ กทม. เพื่อศึกษาคันถธุระ และวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่สำนักพระอาจารย์อูฐ ศึกษาอยู่ 9 พรรษา หลวงพ่อพักท่านก็เ ชี่ยวชาญทั้งคันถธุระโดยเฉพาะทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาในปีพ.ศ.2454 หลวงปู่เนตร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ได้มรณภาพ ญาติโยมและชาวบ้านแถบบ้านอบทม และบ้านโคกจันทร์จึงได้มานิมนต์หลวงพ่อพักขอให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์ และในปีพ.ศ.2455 หลวงพ่อพักก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ หลวงพ่อพักท่านมีอาจารย์อยู่หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์วาต ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของท่าน อยู่ที่บ้านท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อดีตเคยเป็นขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่แถวชานเมืองอ่างทองและสุพรรณบุรี และเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมสูง ล่องหนหายตัวได้ ต่อมาได้เลิกราในอาชีพทุจริตโดยสิ้นเชิง แล้วหันเข้าสู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่อมาจึงถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพักจนหมดสิ้น โดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์แดง ฯลฯ อาจารย์ของหลวงพ่อพักอีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่บุญ ผู้มีวิชาอาคมสูงจากแขวงเมืองพิจิตร ซึ่งได้ธุดงค์ล่องมาถึงแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จนได้มาพบกับหลวงพ่อพัก และได้ถ่ายทอดวิชาปลุกเสกเขี้ยวเสือแกะ งาช้างแกะ และวิทยาคมต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพัก หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่างด้วยกัน ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น เหรียญรูปท่านที่มีทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แต่เป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายากและมีสนนราคา สูงครับ ส่วนเครื่องรางของขลังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิงห์งาแกะ เมื่อนำติดตัวผ่านฝูงวัว ฝูงวัวเหล่านั้นถึงกับแตกตื่นวิ่งหนี และเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี ตะกรุดโทนนั้นก็มีคุณวิเศษ ถ้ารูดไปข้างหน้าจะเป็นมหาอุด รูดไปด้านซ้ายจะเป็นเมตตามหานิยม รูดไปด้านขวาเป็นมหาอำนาจ รูดไปด้านหลังศัตรูไม่สามารถตามทัน ตะโพนงาแกะของหลวงพ่อพัก ท่านสร้างไว้แจกพวกศิลปิน มีคุณวิเศษทางด้านเมตตามหานิยม เมื่อนำติดตัวจะเป็เสนมหานิยมแก่ผู้พบเห็น ส่วนเบี้ยแก้ของ หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง ที่มีพุทธคุณครบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านป้องกันคุณไสย ยาสั่ง แก้เหตุร้าย ให้กลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรี เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักท่านจะเรียกปรอทเข้าตัวเบี้ยแล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้ว ปิดทับด้วยตะกรุดที่ม้วนแล้วทุบให้แบน แปะทับบนชันโรง จากนั้นจึงถักเชือกทับอีกทีหนึ่ง การถักเชือกนั้นจะถักเปิดด้านบนของตัวเบี้ยให้เห็นลายหอยเบี้ย ลายถักส่วนมากมักถักเป็นลายกระสอบ วนเป็นเส้นรูปไข่ตามตัวเบี้ย การถักห่วงจะถักเป็นด้านหลังสองห่วง หรือด้านบนหูเดียวก็มี บางตัวนั้นอาจจะมีที่ทำเป็นตะกรุดร้อยเชือกคาดเอวก็มี มีทั้งจุ่มรักและไม่จุ่มรักก็มี “เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..” พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย . https://ponsrithong.com/ web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง Web ( มุมพระ) : มุมพระ https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507 web (99wat) : 99วัด http://www.ponsrithong.99wat.com/ Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย : https://www.facebook.com/ponsrithong/ IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/ |
|||||||||||||||
ราคา
|
50000 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0639695995 | |||||||||||||||
ID LINE
|
busoftware52 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
1,377 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 282-2-248xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|