พระพุทธรูปล้านนา ระยะที่ ๔ หมวด ๒ ศิลป์เชียงแสนสิงห์สามปางไสยาสน์ ขนาด 25 นิ้ว
|
||||||||||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||||||||||
![]() ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
พลศรีทองพระเครื่อง( บู เชียงราย ) | |||||||||||||||
โดย
|
ponsrithong | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเครื่องภาคเหนือ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระพุทธรูปล้านนา ระยะที่ ๔ หมวด ๒ ศิลป์เชียงแสนสิงห์สามปางไสยาสน์ ขนาด 25 นิ้ว |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระพุทธรูปล้านนา ระยะที่ ๔ หมวด ๒ ศิลป์เชียงแสนสิงห์สามปางไสยาสน์ ขนาด 25 นิ้ว ราวครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่า “พระปางไสยาสน์” ปางโปรดอสุรินทราหู หรือ ปางไสยาสน์ , ปางปรินิพพาน สิริมงคลของผู้เกิดวันอังคาร ตามพุทธประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับสีหไสยาสน์ เสด็จดับขันธปรินิพพานในวันอังคาร จึงได้ถือเอา พระพุทธไสยาสน์ เป็น พระประจำวันอังคาร นอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่อว่า คนวันอังคาร เป็นคนใจร้อน ให้นอนเสียบ้าง จะได้ใจเย็น เหมือนดังพระนอน ดังนั้นผู้ที่เกิดวันอังคารถ้าได้ไปกราบสักการะขอพรถือเป็นสิริมงคลยิ่งนัก คติการสร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์นั้น ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งไม่เที่ยง แม้กระทั่งพระพุทธองค์ก็ยังเลี่ยงไม่พ้น อีกทั้งยังเป็นตัวแทนของการขจัดความมัวเมาลุ่มหลง เห็นผิดเป็นชอบที่เป็นลักษณะของราหู และเชื่อกันหากได้ขอพร จะโชคดี พ้นภัย เป็นการสะเดาะเคราะห์ ช่วยให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี “พระพุทธรูปเชียงแสน” มีต้นกำเนิดจากทางภาคเหนือ ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ภาคเหนือของประเทศไทยนั้น เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลอยู่อาณาจักรหนึ่ง เรียกว่า “อาณาจักรเชียงแสน” ในอดีต ราวรัชสมัยพระเจ้าอนุรุทมหาราชแผ่อำนาจเข้ามาปกครองเมืองเชียงแสน พระองค์ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน (เถรวาท) อย่างพุกามเข้ามาเผยแผ่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาลัทธิหินยานที่เข้ามาทางประเทศอินเดียฝ่ายเหนือผ่านมอญและพม่า อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนจึงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียสกุลช่างปาละอีกด้วย “ปาละ” นั้น เป็นชื่อราชวงศ์อินเดียที่เคยครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ได้แก่แคว้นพิหารและเบงกอล ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-17 และเป็นราชวงศ์ที่อุปถัมภ์ “พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิกายตันตระ” ซึ่งนิยมการใช้เวทมนตร์คาถาเป็นอย่างมาก มีศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และได้สร้างพระพุทธรูปเป็นรูปเคารพและมีพุทธลักษณะที่สำคัญคือ พระรัศมีทำเป็นแบบดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาทำเป็นก้นหอยใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอูมสมบูรณ์ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิเหนือพระอังสาซ้ายสั้นและปลายแตกเป็นปากตะขาบ นิยมสร้างเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และปรากฏพระบาททั้งสองข้าง อันเป็นพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปที่มีความงดงามมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะพบที่เมืองเชียงแสน และในสมัยนั้นเมืองเชียงแสนก็อาจจะเป็นเมืองที่สำคัญจึงได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปศิลปะแบบนี้ว่า “พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปรุ่นแรกๆ ของไทย “เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..” พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย . https://ponsrithong.com/ web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง Web ( มุมพระ) : มุมพระ https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507 web (99wat) : 99วัด http://www.ponsrithong.99wat.com/ Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย : https://www.facebook.com/ponsrithong/ IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/ TIKTOK #พลศรีทองพระเครื่อง https://www.tiktok.com/@ponsrithong?is_from_webapp=1&sender_device=pc |
|||||||||||||||
ราคา
|
โทรถาม | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0877124640 | |||||||||||||||
ID LINE
|
busoftware52 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
1,305 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 282-2-248xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|