เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม รุ่นสุดท้าย บล็อกธรรมดานิยม ส.ไม่ขีด เนื้อทองแดง สวยแชมป์ คมชัดลึก ผิวเดิมๆ
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
พลศรีทองพระเครื่อง( บู เชียงราย ) | |||||||||||||||
โดย
|
ponsrithong | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเครื่องยอดนิยม | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม รุ่นสุดท้าย บล็อกธรรมดานิยม ส.ไม่ขีด เนื้อทองแดง สวยแชมป์ คมชัดลึก ผิวเดิมๆ |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม รุ่นสุดท้าย บล็อกธรรมดานิยม ส.ไม่ขีด เนื้อทองแดง สวยแชมป์ คมชัดลึก ผิวเดิมๆ เริ่มต้นคงต้องกล่าวถึงเรื่องการสร้างเสียก่อนว่าเหรียญรุ่นสุดท้ายนั้นมีที่มาจากเฮีย แห่งมูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์ จังหวัดนครปฐม หรือประมาณมูลนิธิปอเต็กตึ๋งแห่งนครปฐม ได้มาทำพิธีล้างป่าช้าที่วัดดอนยายหอมราวปลายปี 2517 หรือต้นปี 2518 นี่ล่ะครับ พอได้พูดคุยสนทนากับหลวงพ่อเงินก็เลยได้ถือโอกาสขออนุญาตจัดสร้างพระของท่านสักรุ่น ทั้งนี้เพื่อจะหาทุนไว้ใช้ในการดำเนินงานของมูลนิธินั่นเอง หลวงพ่อเงินท่านได้ฟังแล้วก็เห็นว่าเป็นประโยชน์ของประชาชนจึงอนุญาตไป โดยท่านได้กำชับให้ใส่คำว่ารุ่นสุดท้ายไว้ในเหรียญด้วยเลย เพราะขณะนั้นท่านมีอายุถึง 82 ปีเข้าให้แล้ว แต่ก็นำความแปลกใจให้ทุกคนเพราะตอนนั้นท่านยังดูแข็งแรงอยู่มากทีเดียว เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็ได้มีการว่าจ้างช่างให้แกะแบบเป็นเหรียญไข่หูในตัว ด้านหน้ามีรูปหลวงพ่อเงินครึ่งองค์อยู่ตรงกลาง ซึ่งแกะได้เข้มขลังและเหมือนจริงมาก ราวกับหลวงพ่อมีชีวิตก็ไม่ปาน ใต้องค์หลวงพ่อมีคำว่าหลวงพ่อเงินอยู่ ในส่วนด้านหลังมียันต์พระเจ้าห้าพระองค์อยู่ตรงกลาง ซึ่งช่วงท้ายชีวิตท่านจะนิยมใช้ยันต์ตัวนี้แทนยันต์นะทรหด ด้านบนมีตัวหนังสือว่า พระราชธรรมาภรณ์ ด้านล่างมีคำว่า มูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์นครปฐม ๒๕๑๘ มีดอกจันทร์ประกบหัวท้าย ใต้ยันต์ห้านั้นจะมีคำว่ารุ่นสุดท้ายเป็นแถวตรงกำหนดไว้ โดยนอกจากพิมพ์ใหญ่แล้วได้มีการจัดสร้างพิมพ์เล็กไว้ด้วย นัยว่าจะให้เด็กและสตรีไว้ขึ้นคอ โดยรูปทรงเหมือนกัน ด้านหน้ามีรูปเหมือนหลวงพ่อครึ่งองค์เช่นกัน แต่ไม่งามเท่าพิมพ์ใหญ่เท่านั้นเอง ส่วนด้านหลังก็เหมือนกับพิมพ์ใหญ่เช่นกัน แต่คำว่ารุ่นสุดท้ายจากหนังสือแถวตรงจะเป็นแถวโค้งแทน ในส่วนของจำนวนนั้นไม่มีใครบันทึกไว้แต่ว่ากันว่าหลายหมื่นทีเดียวเพราะเห็นว่ารุ่นสุดท้ายแล้ว เลยจัดสร้างให้เยอะเลย บวกกับที่ต้องการนำพระถวายให้วัดดอนยายหอมไว้ให้เช่าทำบุญด้วย เลยตั้งใจสร้างพระมาให้เยอะหน่อย แต่มีบางคนคุยว่าพระนั้นเมื่อรวมทุกเนื้อ ทุกพิมพ์ ทุกบล็อก แล้วสร้างมาทั้งสิ้น 84,000 องค์เท่าพระธรรมขรรนั่นเอง ซึ่งตรงนี้ขอไม่ยืนยันข้อมูล ส่วนผิวพระนั้นในส่วนของเนื้อทองแดงจัดสร้างแบบรมน้ำตาลส่วนหนึ่ง ย้ำว่ารมน้ำตาลแม้พระบางองค์จะดูดำหน่อยเมื่อลงกล้องจะเป็นสีแดงเลือดหมูเข้ม แต่พระจะมีหลายโทนสี เพราะการรมทำครั้งเดียว พระที่อยู่ด้านล่างโดนรมมากสีจะเข้ม ตรงกลางจะออกแดง แดงเปลือกมังคุต แดงมะขามเปียก ซึ่งตรงกลางนี้จะหายากหน่อย ส่วนรอบนอกจะเป็นสีน้ำตาลออกมองเผินๆ เหมือนผิวเปิดนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มที่จะรมมันปู โดยกลุ่มนี้หากสภาพดีผิวจะเหมือนมีคราบน้ำมันคลุมเหรียญ แต่มองทะลุเห็นผิวทองแดงชัดเจน มองเหมือนไม่เรียบร้อยนั่นเอง ส่วนเนื้อหาที่ชัดเจนเลยคือ 4 เนื้อ มีทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ และทองแดง ซึ่งเหมือนกันทั้ง สองพิมพ์ โดยในส่วนของเนื้อทองคำพิมพ์ใหญ่นั้นให้เช่าจากวัดในราคาเหรียญละ 3,000 บาท ซึ่งสมัยนั้นทองคำบาทละไม่ถึงพันด้วย โดยคนที่จะสั่งจองต้องแจ้งไปยังสมาคมจั๊วหลีในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแม่งานในการจัดสร้างเนื้อทองคำให้ ส่วนเนื้อเงิน ให้ทำบุญในราคาเหรียญละ 150 บาท เนื้อนวะราคา 50 บาทเท่านั้น ส่วนเนื้อทองแดงก็เหรียญละ 30 บาท ในส่วนของเหรียญรุ่นสุดท้ายนั้นเรียกได้ว่ามีเกล็ดสาระเกี่ยวกับการสร้างมากพอตัว ชนิดที่เล่าให้ฟังก็ไม่เบื่อ เริ่มที่ประเด็นแรกคือเสียงร่ำลือของคนดอนยายหอมที่ว่ากันว่าตอนที่ได้มีการนำไปให้หลวงพ่อเสกนั้น มีหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อพร หลวงพ่อพันธ์ และอาจารย์รัตน์ร่วมกันเสก โดยหลวงพ่อเงินท่านเปรยว่ารุ่นสุดท้ายแล้วต้องทำให้ดีหน่อย นี่เองที่นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจประการที่หนึ่ง ประเด็นที่สองมีหลายคนสงสัยว่าทำไมในเมื่อเหรียญนั้นออกในปี 2518 แต่หลวงพ่อเงินท่านไปมรณภาพในวันที่ 13 มกราคม 2520 แล้วทำไมถึงไม่ได้สร้างพระรุ่นอื่นออกมาในปี 2519 เลย? คำตอบคือเนื่องจากจำนวนสร้างรุ่นสุดท้ายนั้นมากเสียจนต้องใช้เวลามาก ขนาดที่ว่าตัวตัดเหรียญยังมีถึง 4 ตัว เพื่อช่วยกันทำให้เร็วแล้ว แต่กว่าจะเสร็จตามจำนวนที่ต้องการก็ไปสำเร็จเอาในช่วงปลายปี 2518 และออกจำหน่อยในตอนต้นปี 2519 แล้ว อีกทั้งพอกลางปี 2519 หลวงพ่อเงินท่านเริ่มป่วยซึ่งเชื่อว่าท่านเองมีญาณรู้กาลสังขารของท่าน จึงได้กำหนดไว้เช่นนั้น และเมื่อพระสร้างไว้มากพอ ในปี 2519 ตอนที่สุขภาพท่านไม่สะดวกที่จะจัดสร้างพระแล้ว ก็ยังมีพระให้วัดดอนยายหอมได้นำออกให้เช่าอย่างเพียงพอ เกล็ดเล็กน้อยประการที่ 3 นั้นมีคนสงสัยมาตลอดว่าทำไมเนื้อพิเศษอย่างเนื้อนวะโลหะหรือเนื้อเงิน ทำไมถึงมีแบบตอกหมายเลขประจำเหรียญและไม่ตอกหมายเลข คำตอบคือตอนที่สร้างเสร็จแล้วนั้น หลวงพ่อเงินท่าได้ให้ลูกศิษย์นำพระส่วนหนึ่งมีเนื้อทองแดง เนื้อนวะและเนื้อเงินจำนวนหนึ่ง ไปมอบให้เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครปฐมในสมัยนั้น โดยมีเนื้อนวะจำนวนมากพอสมควรแต่เนื้อเงินมีไม่มากนัก ซึ่งพระทั้งหมดตั้งแต่สมัยออกจากวัดดอนยายหอมก็ไม่มีการตอกหมายเลขประจำเหรียญอยู่แล้ว แต่พอราวปี 2520 กว่าๆ ทางวัดพระปฐมเจดีย์ฯ ต้องการทุนทรัพย์ใช้ในการซ่อมแซมกุฏิภายในวัดจึงตัดสินใจเอาเหรียญรุ่นสุดท้ายชุดนี้ออกให้เช่า แต่ในส่วนของเนื้อนวะโลหะและเนื้อเงินนั้น ได้มีการนำไปตอกหมายเลขเพื่อให้แยกจากชุดที่ออกจากวัดดอนยายหอมได้ง่าย นั่นเองจึงเป็นเหตุให้เกิดเหรียญที่ตอกหมายเลขประจำเหรียญนั่นเอง ราคา : xx,xxxx ร้าน : พลศรีทองพระเครื่อง |
|||||||||||||||
ราคา
|
4,500 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0877124640 | |||||||||||||||
ID LINE
|
busoftware52 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
4,582 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 282-2-248xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|